ถ่ายน้ำมันเครื่องเกินระยะ

โดยปกติแล้วเราควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่

ความจริงแล้วไม่ได้มีกฏแน่นอนตายตัว ว่าเราจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องได้เมื่อไหร่ ตอนไหน เพราะมีองค์ประกอบต่างๆ ในการพิจารณาควบคู่กันไปด้วย เช่น รถใช้งานหนักหรือวิ่งตลอดเวลาหรือเปล่า หรือว่ารถจอดทิ้งไว้ไม่ค่อยได้ใช้งาน ซึ่งถ้าเอาตามหลักที่ส่วนใหญ่คิดกันก็จะแบ่งระยะเปลี่ยนถ่ายออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ตามระยะที่รถวิ่ง และตามระยะเวลา ดังนี้

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะ

คือ ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อเข็มไมล์วิ่งไปถึงตัวเลขที่กำหนด เช่น เลขไมล์ก่อนถ่ายน้ำมันเครื่องอยู่ที่ 85,000 กม. หากเปลี่ยนครั้งต่อไปอีก 5,000 กม. ก็ต้องถ่ายน้ำมันเครื่องที่ 90,000 กม. เป็นต้น โดยระยะเปลี่ยนถ่ายจะอ้างอิงจากเกรดน้ำมันเครื่องที่เติม 

  • น้ำมันเครื่องเกรดธรรมดา เปลี่ยนทุก 5,000 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ เปลี่ยนทุก 7,500-8,000 กิโลเมตร
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ เปลี่ยนทุก 10,000-15,000 กิโลเมตร

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามเวลา

กรณีนี้สำหรับคนที่จอดรถมากกว่าวิ่ง เช่น บ้านที่มีรถหลายคัน จอดไว้ไม่ได้นำไปใช้งาน หรือคนที่ไม่ค่อยได้ขับรถออกไปไหน ซึ่งเลขไมล์กว่าจะกระดิกถึงระยะตามกำหนด น้ำมันเครื่องก็เสื่อมสภาพกันพอดี เพราะฉะนั้นจะให้นับเป็นวันที่ว่า ควรเปลี่ยนทุกๆ กี่เดือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนประมาณ 6 เดือน หรือ 2 ครั้งต่อปี



เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดระยะการเปลี่ยนถ่าย จะช่วยให้เครื่องยนต์อยู่ในสภาพที่ดี และยังเป็นการปกป้องชิ้นส่วนของเครื่องยนต์อีกด้วย แต่จะเกิดอะไรขึ้น!? หากลูกค้าไม่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เมื่อถึงระยะเวลาที่ควรเปลี่ยน....

- อันตราเร่งแย่ลง เร่วความเร็วไม่ขึ้น เครื่องอืดลงอย่างต่อเนื่อง
- ประสิทธิภาพในการปกป้องเครื่องยนต์ลดลง และอาจทำให้เครื่องยนต์สึกหรอได้
- ส่วนผสมที่อยู่ในน้ำมันลดลง ส่งผลต่อประสิทธิภาพของน้ำมัน ซึ่งการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นประจำทำให้มั่นใจได้ว่าน้ำมันยังคงมีส่วนผสมที่ลงตัว
- เกิดการก่อตัวของเขม่าควัน การกัดกร่อนของชิ้นส่วนเหล็ก และการสึกหรอที่เพิ่มขึ้น

การให้ความรู้และส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรแนะนำลูกค้าให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามกำหนดระยะการเปลี่ยนถ่าย อ้างอิงจากคู่มือรถที่กำหนด จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อีกด้วย!

Visitors: 64,644