ปะยางรถยนต์ เขาทำกันอย่างไร

หนึ่งปัญหาที่ผู้ใช้รถมักเจอกันอยู่บ่อยครั้ง และส่วนใหญ่ก็มักเกิดขึ้นโดยที่ผู้ใช้รถไม่ทันคาดคิด ก็คือปัญหายางรั่วซึมนั่นเองครับ ถึงแม้จะดูเหมือนไม่ใช่ปัญหาใหญ่เกินแก้ และสามารถซ่อมแซมได้ไม่ยาก แต่หากเกิดขึ้นในจังหวะเวลาที่คุณเร่งรีบในการเดินทาง ก็ทำให้คุณเสียเวลาอยู่ไม่น้อยเช่นกันครับ ซึ่งปัญหายางรั่วซึมนั้นหากยางไม่ได้เสียหายทั้งเส้น ก็สามารถแก้ไขให้กลับมาใช้งานได้ด้วยการ ปะยาง

ปัจจุบันก็มี ร้านปะยางรถยนต์ ใกล้ฉัน ให้บริการอยู่ทั่วไป หรือหากบริเวณที่รถของคุณเกิดยางรั่วซึมนั้นไม่มีร้านให้บริการอยู่ใกล้ๆ การซ่อมแซมบางวิธีก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยปกติแล้วการปะยางนั้นแบ่งได้ 2 แบบ คือ การปะแบบสตรีม และการปะแบบสอดไส้หรือแทงไหม ซึ่งจะเลือกปะยางรถยนต์ แบบไหนดี ก็ต้องประเมินดูจากแผลความเสียหายของยางด้วยว่าการปะแบบใดจึงจะเหมาะสม ฉะนั้นไปดูกันครับว่าทั้ง 2 วิธี จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

วิธีการปะยางรถยนต์

1.การปะยางรถยนต์แบบสตรีม
การปะยางรถยนต์แบบสตรีมมีทั้งแบบสตรีมร้อน และสตรีมเย็น ซึ่งทั้งสองแบบจะใช้วัสดุเป็นแผ่นยางชิ้นเล็กๆ ในการปะ วิธีการปะจะคล้ายคลึงกัน โดยเริ่มจากถอดยางออกมา เพื่อปะรอยรั่วจากด้านใน ใช้กระดาษทรายหรือหัวเจียรขัดผิวรอบๆ รูรั่วให้สะอาด และให้มีพื้นผิวสากเล็กน้อยช่วยให้กาวยึดติดได้ดี

ปะยาง แบบสตรีม

แบบสตีมร้อน ส่วนใหญ่ใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ ไปจนถึงรถบรรทุกสิบล้อ โดยจะใช้ยางชนิดพิเศษ โดยผ่านการหลอมด้วยความร้อน จากนั้นนำไปประกบกับรอยที่ ยางรั่ว หรือรอยแผลบนตัว ยางรถยนต์ และใช้เครื่องมือในการกดเพื่อประสานแผ่นยาง กับ ยางรถยนต์ ซึ่งรอย ยางรั่ว หรือบาดแผลจะแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกันกับยาง และยังสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับยางปกติ จากทิ้งไว้สักพักก็สามารถใช้งานได้ปกติ แต่ข้อเสียของงการสตีมร้อนก็มีโอกาสที่ความร้อนจะทำให้โครงสร้างของ ยางรถยนต์ เสียรูปทรง และอาจทำให้ ยางรถยนต์ บวมได้

แบบสตีมเย็น โดยส่วนมากจะใช้กับรถจักรยาน เพราะการปะแบบนี้จะทำให้ ยางรถยนต์ ทนต่อความร้อนได้ต่ำ และไม่ทำให้ยางเสียรูปทรง โดยใช้ยางอีกแผ่นหนึ่งมาทำหน้าที่อุดรูรั่ว โดยปกติจะใช้ยางในรถที่ถูกทิ้ง หรือยางที่ไม่ใช้งานแล้ว มาทำการประสานเข้าไปกับยางที่มีรอยรั่วซึม จากนั้นก็รอให้แห้งเป็นอันเสร็จ

วิธีปะยางรถยนต์แบบสตรีมสามารถซ่อมแซมยางได้ทั้งรอยรั่วอย่างรอยตะปู และรอยฉีกขาดเล็กๆ ข้อดีของการปะยางด้วยวิธีนี้ คือ สามารถปะรูรั่วได้สนิท มีความคงทนกว่าการปะยางแบบแทงใยไหม ส่วนข้อเสีย คือ ขั้นตอนการปะที่ต้องถอดล้อออกมา ทำให้ใช้เวลานาน และต้องถ่วงล้อใหม่หลังทำเสร็จ รวมทั้งมีโอกาสที่ชุดปะยางจะหลุดร่อนหากเจอความร้อนสูงระหว่างการใช้ยาง

2.การปะยางรถยนต์แบบแทงใยไหม
การปะยางรถยนต์แบบแทงใยไหมเรียกอีกอย่างว่า การปะยางแบบสอดไส้ เป็นวิธีการอย่างง่ายในการซ่อมแซมยางรถยนต์ ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากเพียงดึงสิ่งที่ตำยางรถยนต์ออก ใช้ตะไบหางหนูหรือสว่านเบอร์เล็กทะลวงแผลให้ขยายออกสำหรับแทงไหมลงไป สังเกตให้ปากแผลเรียบ อย่าให้มีโครงลวดของยางทิ่มออกมา แล้วจึงนำอุปกรณ์แทงใยไหมลักษณะคล้ายเข็มร้อยขนาดใหญ่ ทากาวแล้วร้อยไหมเข้าไปในตาเข็ม แล้วอุดลงไปในรูแผลที่เตรียมไว้ ดึงเข็มขึ้นมาและตัดไหมส่วนเกินออกก็เรียบร้อย

ปะยาง แทงใยไหม

วิธีปะยางรถยนต์แบบแทงใยไหมเหมาะสำหรับซ่อมรูรั่วเล็กๆ เท่านั้น ส่วนมากใช้เมื่อยางรถยนต์ถูกตะปูหรือเหล็กแหลมทิ่มตำ มีข้อดี คือ ช่วยแก้ปัญหายางรั่วได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำได้ด้วยตนเอง ส่วนข้อเสียก็คือ ใช้ได้เฉพาะบาดแผลขนาดเล็ก และยังอาจเกิดการรั่วซึมที่แผลเดิมได้

ปัจจุบันการปะยางรถยนต์แบบแทงใยไหมสามารถทำได้เอง เพื่อซ่อมแซมยางในเบื้องต้น โดยอุปกรณ์แบบครบชุดสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด หรือผ่านช่องทางออนไลน์ ราคาไม่แพง ช่วยให้เราซ่อมแซมยางรถยนต์ได้ในกรณีฉุกเฉิน ไม่ต้องพึ่งช่าง สำหรับมือใหม่ หลังจากปะยางเสร็จแล้ว หากมีเวลาควรเข้าศูนย์บริการหรือร้านยางเพื่อให้ช่างตรวจเช็คสภาพยางรถยนต์อีกครั้ง

ปะยางรถยนต์เท่าไหร่

การปะยางมีทั้งแบบแทงไหม แบบสตรีมเย็น และแบบสตรีมร้อน ซึ่งแต่ละประเภทมีขั้นตอนการปะที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับบาดแผลหรือรอยรั่วนั้น ๆ โดยทั่วไปทางร้านหรือศูนย์บริการจะทำการประเมินบาดแผลยางว่าเหมาะสำหรับการปะแบบไหนมากที่สุด ส่วนของราคาปะยางขึ้นอยู่กับประเภทการปะ โดยการปะยางแบบแทงไหมค่าบริการต่อแผลประมาณ 70-100 บาท และการปะยางแบบสตรีมค่าบริการต่อแผลประมาณ 150-300 บาท

สำหรับการปะยางทั้งสองแบบนั้นก็จะมีข้อมดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป ส่วนจะให้บอกว่าแบบไหนดีกว่ากันนั้น ถ้าต้องการความสะดวกรวดเร็วและไม่อยากเสียเงินถ่วงล้อใหม่ ก็แนะนำให้ใช้การปะด้วยวิธีการแทงตัวหนอนหรือแทงใยไหมครับ เพราะสามารถทำได้ด้วยตัวเองด้วย และก็ไม่ต้องเสียเวลาถ่วงล้อใหม่ ส่วนถ้าใครมีบาดแผลบนยางไม่เยอะและมีงบประมาณก็เลือกแบบสตรีมจะดีกว่า เพราะยางจะมีความแน่นและไม่รั่วออกได้ง่าย

Visitors: 81,309